25 พฤศจิกายน วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง










ที่มาที่ไป :   เพื่อรำลึกถึงนักต่อสู้หญิงชาวโดมินิกัน 3  คน ถูกลอบสังหารอย่างทารุนโดยผู้นำเผด็จการเมื่อ พ.ศ. 2503 และประเทศแคนนาดา ในปี พ.ศ. 2534(ค.ศ.1991) ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยมอนทรีออล จำนวน 14 คน โดยมีนักศึกษาชายจำนวน 1 แสนคนออกมารณรงค์สร้างความตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อสตรี รวมทั้งแสดงตนว่าจะไม่กระทำความรุนแรงต่อสตรี โดยการติดริบบิ้นสีขาวที่ปกเสื้อเพื่อเป็นสัญลักษณ์ อันมีความหมายถึง "การยอมรับว่าจะไม่ทำร้าย หรือนิ่งเฉย ต่อการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ โดยในพ.ศ.2542 (ค.ศ. 1999) องค์การสหประชาชาติ(UN)ได้รับรองให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวัน"ขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล
ในประเทศไทย ได้มีการรณรงค์ครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2538 โดยมูลนิธิเพื่อนหญิง องค์กรสตรี องค์กรแรงงาน นักวิชาการ และนักศึกษา และได้เสนอมาตรการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงต่อรัฐบาล สาธารณชน และสังคม เพื่อให้เกิดการตระหนักว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของผู้หญิงคนใดคนหนึ่งแต่เป็นปัญหาสังคมที่ต้องร่วมแก้ไข กระทั่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อ 19 มิถุนายน 2542 กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เพื่อมุ่งเน้นป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
ลำดับข้อเสนอของสตรี กับผลที่ได้รับจากการรัฐบาล
พ.ศ.2542 รัฐบาลมีมาตรการให้ 20 โรงพยาบาลนำร่องในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กละสตรีในภาวะวิกฤตขึ้น โดยทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพเพื่อให้บริการช่วยเหลือเด็กสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง และให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นเดือนยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
พ.ศ.2543 รัฐบาลมีมติเห็นชอบกับนโยบาย และแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
พ.ศ.2547 รัฐบาลประกาศนโยบายสตรีเร่งด่วน 2 เรื่อง
หนึ่ง : กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มจำนวนศูนย์พึ่งได้ 104 ศูนย์ ทั่วประเทศ
สอง : รัฐบาลตระหนักว่าการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง และประเทศไทยก็เป็นแหล่งเคลื่อนไหวของกระบวนการค้ามนุษย์ มีสถานะเป็นทั้งประเทศต้นทาง กลางทาง และปลายทาง คือนำเด็ก และผู้หญิงในประเทศ และจากประเทศเพื่อนบ้านมาค้าบริการทางเพศในประเทศไทย และผ่านไปประเทศอื่น รวมทั้งใช้แรงงานแบบกดขี่ทารุน บังคับขู่เข็ญให้เป็นขอทาน หรือกระทำการอื่นใดที่ไร้คุณธรรม ทั้งนี้รัฐบาลได้ประการให้ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติเร่งด่วน โดยการอนุมัติงบประมาณ 500 ล้านบาท สนับสนุนกิจกรรมการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้หญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ร่วมจัดทำ MOU บันทึกข้อตกลงระหว่างภาครัฐเอกชนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา
และในปีต่อมาจนถึงปัจจุบัน ข้อเสนอของสตรีก็ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้มีการแต่งตั้งเพิ่มขยายพนักงานสอบสวนหญิง การออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 2551 พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว 2551 พรบ.คุ้มครองเด็ก 2546 และการแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 276 - 277 เรื่องการห้ามข่มขืนภรรยาตนเอง
    การรณรงค์วันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ในปี 2556 เมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อนหญิง ร่วมกับพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดมุกดาหาร และเครือข่ายสหวิชาชีพ จังหวัดมุกดาหาร พร้อมแกนนำสตรี และนักเรียน จำนวน 500 คน ร่วมกันรณรงค์เดินไปตามเส้นทางต่างๆของอำเภอเมืองมุกดาหาร ได้รับความสนใจจากประชาชนสองข้างทางเป็นอย่างมาก  โดยในปีนี้ประเด็นรณรงค์ทำสอดรับกับส่วนกลางคือ การเรียกร้องให้มีการคุ้มครองด้านสิทธิ และต้องยุติความรุนแรงต่อเด็กสตรีในทุกรูปแบบ โดยเน้นให้กลุ่มผู้ชายติดริบบิ้นสีขาว เป็นสัญลักษณ์ถึงการต่อต้านความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี โดยการไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ


สวนสุขภาพ
มูลนิธิเพื่อนหญิง
เปิดร้านแล้วค่ะ