สรุปการประชุมเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร ศูนย์ช่วยเหลือผู้หญิง และเด็ก ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 19 กันยายน 2556 เวลา 10.00 - 12.00 น.
ณ ศูนย์ช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่

     ผู้เข้าร่วมประชุม
  • 1.คุณธนวดี      ท่าจีน           ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง
  • 2.คุณบัณฑิต    แป้นวิเศษ      หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง
  • 3.คุณทัศนีย์     กุสิมา            เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานศูนย์ฯภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่(มพญ.)
  • 4.คุณษา                            ทนายอาสาสมัครประจำมูลนิธิเพื่อนหญิง ภาคเหนือ
  • 5.คุณธิติรัตน์ ตระกูลลานเงิน   อาสาสมัครประจำศูนย์ฯมูลนิธิเพื่อนหญิง ภาคเหนือ

วาระการประชุมฯ
1.เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
2.ติดตามงาน
3.แผนงาน และแหล่งสนับสนุน
4.อื่นๆ

วาระ 1. เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
    คุณธนวดี ท่าจีนได้ แจ้งเรื่องการติดตามงาน การจัดระบบข้อมูล และความรู้ความเข้าใจในการทำงานของมูลนิธิเพื่อนหญิงว่าทำงานอะไร เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครฯ จะต้องอธิบายได้ จากนั้นก็มีการสาธิต ความรู้ความเข้าใจโดยให้อาสาสมัคร ออกมานำเสนองานของมูลนิธิฯ รวมทั้งได้ให้คำแนะนำเรื่องการทำสรุปการประชุม ว่าควรมีการบันทึกในลักษณะใดบ้าง
    อีกทั้งได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ว่าทนายอาสาสมัครจะต้องช่วยทำอะไรบ้าง เช่น การให้คำปรึกษา รวมถึงการบันทึกเคสส่งต่อให้กับคุณแมว แกนนำอาสาสมัคร ทั้งนี้อาสาสมัครแกนนำสตรี(คุณแมว)อาจจะต้องปรับไปทำเรื่องของการดูแลสำนักงาน และการทำบันทึกข้อมูลช่วยคุณทัศนีย์ ที่ถนัดงานประสานแต่ไม่ถนัดงานบันทึกข้อมูล และ การใช้สื่อทางคอมพิวเตอร์ ส่วนคุณบัณฑิต ที่ดูแลงานในภาคเหนือ อาจจะต้องมีเวลาขึ้นมาเพื่อนัดประชุม และจัดทำระบบงานข้อมูล สำนักงาน และลงพื้นที่ติดตามงาน จังหวัดนำร่องกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อีกทั้งช่วยรวบรวมข้อมูลการทำงาน และ เคสออกมาเพื่อส่งกับคุณคี้ ในการลงเว็บไซด์มูลนิธิเพื่อนหญิง

วาระ2. ติดตามงาน
กิจกรรมประชุมเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร
ประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง มีวาระการติดตามงาน และการติดตามการทำข้อมูล สรุปงาน 6 เดือน เพื่อเตรียมประชุมเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อนหญิง 4 ภาค รวมถึงการเตรียมงานจัดเวทีต่างๆตามโครงการฯของมูลนิธิ เช่นกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ของโครงการสะพานเพื่อประชาธิปไตย หรือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) หรือการเตรียมเวทีแรงงานข้ามชาติกับประกันสังคม เป็นต้น

กิจกรรม การการเสริมพลังผู้หญิง และสหวิชาชีพ
จัดเวทีทำ GROUP SUPPORT จัดไปจำนวน 2 ครั้ง
    การจัดเวทีประชุมสหวิชาชีพ จัดไป 2 ครั้ง
    จัดเวทีสัมมนาประกันสังคม กับแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มชาติพันธ์ 1 ครั้ง
ข้อเสนอการทำงานของศูนย์ฯ
กรณีเร่งด่วนที่ผู้หญิงเข้ามาขอความช่วยเหลือ CASE
  • -    ขอเบอร์โทรCASE ไว้ก่อน
  • -     ประสานงาน OSCC และเจ้าหน้าที่ตาม พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวฯ
  • -    ประสานงานนักกฎหมายของมูลนิธิฯ
  • -     กรณี CASE ขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย
  • -    ประสานสอบถามพนักงานสอบสวนที่รับคดีเพื่อขอดูสำนวน
  • -    ประสาน CASE ช่วยขอสำนวนฟ้องจากอัยการเพื่อนำมาให้นักกฎหมายของมูลนิธิฯตรวจดูเพื่อเห็นช่องทางการช่วยเหลือ และประเมินร่วมว่ามูลนิธิฯจะเข้าไปช่วยในลักษณะไหน
  • การช่วยของมูลนิธิฯต่อผู้หญิงในทางคดีที่ต้องมีทนายความ
  • -    ต้องเป็นกรณีที่ยากจนจริงๆ
  • -    นักกฎหมายทำจดหมายถึงผู้อำนวยการเพื่อขอสนับสนุนการช่วยเหลือ
  • -    ประสานขอความช่วยเหลือจากกลไกรัฐที่มีอยู่ เช่น สำนักงานยุติธรรมชุมชน จังหวัด หรือกระทรวงยุติธรรม
  • การช่วยเหลือกรณีที่ CASE มีฐานะ
  • -    ทนายสามารถรับดำเนินคดีความเองได้ แต่ต้องไม่มากจนเกินไป และมูลนิธิต้องขอบริจาคหักจากทนายความที่ทำคดี ร้อยละ 10 เพื่อนำเงินส่วนนี้เข้ากองทุนช่วยเหลือผู้หญิงทางกฎหมายของมูลนิธิเพื่อนหญิง
  • วาระ 3 .เรื่องโครงการฯ และงบสนับสนุน
  • -    งานด้านการทำงานกับชาวบ้าน 5 อำเภอ จ.เชียงใหม่ คุณทัศนีย์ ได้ดำเนินการทำงานภายใต้โครงการสะพาน เนื่องเพราะมูลนิธิเพื่อนหญิง ต้องการให้เกิดการทำงานต่อเนื่องกับแกนนำผู้หญิงต่อไป ในเรื่องการติดตามนโยบายด้านสตรี
  • -    ส่วนโครงการที่ได้จาก สสส. ในส่วนภาคเหนือ นั้นทำทั้งภาค แต่มีพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัด คือ เชียงใหม่ และพะเยา เนื้อหาของกิจกรรมจะเป็นเรื่องของการจัดทำศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ของสตรีที่เข้าไม่ถึงกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการสตรีภาคติดตามกองทุนฯ  การฝึกอบรมเรื่องผู้หญิงกับการเขียนโครงการ และการทำสื่อ ลงพื้นที่ติดตาม และสนับสนุนพื้นที่นำร่อง การจัดประชุมประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 5 ตำบล ร่วมกับประธานฯจังหวัด และแกนนำสตรีจิตอาสาติดตามนโยบายสาธารณะ จังหวัดนำร่องฯ

บัณฑิต แป้นวิเศษ บันทึก และสรุปการประชุม