ผู้หญิงกับความรุนแรง
ตัวของเรา 
ร่างกายของเรา
สิทธิของเรา

มูลนิธิเพื่อนหญิงร่วมกับเครือข่ายแม่ญิงอีสานภายใต้การสนับสนุนกิจกรรมของอียู(สหภาพยุโรป)และสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ  ระหว่างวันที่ 15-29 ส.ค.2555 โดยเชิญตัวแทนสตรีจาก12จังหวัด ในภาคอีสาน คือมุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครพนม หนองคาย  หนองบัวลำภู  สกลนคร จำนวน 100 คน ให้มาอบรมตามหลักสูตร "ผู้หญิงกับความรุนแรง ตัวของเรา ร่างกายของเรา สิทธิของเรา" โดยแบ่งออกเป็น 3 รุ่น

รุ่นที่ 1  กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนใต้ ได้แก่ จ.บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
รุ่นที่ 2 กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง ได้แก่ จ.อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหารและนครพนม
รุ่นที่ 3 กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนเหนือ ได้แก่ จ.หนองคาย  สกลนคร มหาสารคาม และร้อยเอ็ด

มูลนิธิเพื่อนหญิงได้ให้ความรู้ในเรื่องการสร้างความเข้าใจในมิติหญิงชายรวมถึงการประเมินความรุนแรงในเด็กและสตรี พร้อมกันนี้ กลุ่มสตรีได้เข้าใจและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การให้ความช่วยเหลือผู้หญิง และเด็ก เพื่อประสานงานส่งต่อให้กับหน่วยงานสหวิชาชีพ
การประชุมดังกล่าว ยังมีการอบรมเทคนิคการให้คำปรึกษาแบบสร้างพลังผู้หญิง ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน รวมถึงการฟังอย่างมีสติ


















เสียงสะท้อนจากแกนนำสตรีที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการทั้ง 12 จังหวัด ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า สถานการณ์ความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็ก โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ยาเสพติดและสื่อลามกอนาจารที่ผ่านมาในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือสื่ออิเลคทรอนิคส์      ซึ่งเข้าถึงได้ง่ายในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดความรุนแรงกับคนในครอบครัว และทางแกนนำก็ใช้ความรู้ในการอบรมเรื่องการให้คำปรึกษาและการประสานความช่วยเหลือในรูปแบบสหวิชาชีพ



















ดังนั้น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จึงมีความสำคัญต่อแกนนำสตรีที่เข้าร่วมเป็นอย่างมาก
อนึ่ง สหวิชาชีพคือกระบวนการที่ประกอบด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงเครือข่าย องค์กรชาวบ้านที่ทำงานเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ถูกใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ได้มาประชุมและนำเสนอกรณีศึกษาที่ต้องการแก้ปัญหาโดยเน้นความเข้าใจร่วมกันว่าหนึ่งกรณีปัญหาไม่สามารถทำงานเพียงองค์กรเดียว ต้องจับมือร่วมกันเท่านั้น
เช่นมีหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด   โอเอสซีซี (ศูนย์พึ่งได้)ของโรงพยาบาล และตำรวจ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน  สาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น