มูลนิธิเพื่อนหญิง ภายใต้โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายผู้หญิง ฯ โดยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป ได้จัดเวทีประชุมสหวิชาชีพจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ดเมื่อวันที่7-8 สิงหาคม 2556
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นการพบปะหารือร่วมกันครั้งแรกระหว่างตัวแทนจากภาครัฐและตัวแทนภาคประชาชนนำโดยแกนนำแม่หญิงในพื้นที่จังหวัด ทั้งนี้เพื่อเครือข่ายภาคประชาชนด้านเด็กและสตรี ได้รู้จักหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสามารถประสานส่งต่อเมื่อเกิดเหตุขึ้นในชุมชน มีความเข้าใจในขั้นตอน การขอความช่วยเหลือจากหน่วยต่าง ๆ โดยภาพรวมแล้วปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในพื้นที่มีความซับซ้อนและแก้ไขยาก ซึ่งมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปัญหากลไกการช่วยเหลือยังเข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายอีกเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ประชาชนก็เข้าไม่ถึงกลไก/ไม่เข้าใจกฎหมาย ปัญหาความล่าช้าของกระบวนการให้ความช่วยเหลือ /ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย /ความไม่แน่ใจในกระบวนการยุติธรรม


ข้อเสนอแนวทางการทำงานเชิงรับ
- แจ้งประสาน 1300 /ส่งต่อข้อมูลเคสที่ซับซ้อน/ - พม.ยินดีที่เป็นประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ /แนวทางการปฏิบัติของโรงพยาบาลเมื่อเกิดเหตุผู้เสียหายสามารถตรวจร่างกายก่อนที่จะไปแจ้งความได้ / ตร. จะรับคดีและทำหนังสือแจ้งสิทธิให้กับผู้เสียหายได้รับทราบว่ามีสิทธิที่ควรจะได้รับการดูแลมีเรื่องใดบ้างเช่นการชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องเอกสารที่ต้องการคัดสำเนาเพื่อเอาไปประกอบขอรับสิทธิการดูแลจากหน่วยงานสำนักงานยุติธรรม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง/เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานในกรณีที่เป็นเคสเด็กให้ ตร.สามารถไปร่วมสอบปากคำโดยใช้สถานที่ของโรงพยาบาลได้

แนวทางเชิงรุก
จัดกิจกรรมสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูล/เวทีอบรมร่วมกันแกนนำในพื้นที่/ทำความเข้าใจกับผู้นำชุมชน/โดยทีมสหวิชาชีพสร้างความคุ้นเคยในชุมชน
จัดเวทีอบรมทักษะการใหคำแนะนำ ให้คำปรึกษากรณีเด็กที่ถูกล่วงละเมิด ทำอย่างไรที่จะให้เด็กสามารถให้การได้  พมจ.เป็นเจ้าภาพหลักในการประชุมสหวิชาชีพ เพื่อต่อยอดกับกลุ่มผู้หญิงในพื้นที่ร่วมกับองค์กรภาคเอกชนต่างๆ ที่มีเครือช่ายในพื้นที่ต่างๆนั้นๆ - การจัดกิจกรรมบางอย่างเพื่อนหญิงสามารถสนับสนุนได้บางส่วนเชิญหน่วยอื่นร่วมงบประมาณ

สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายผู้หญิง ฯ
บันทึกเพิ่มเติมจากพัชรี ไหมสุข  หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง


หลังจากที่ได้จัดเวทีประชุมสหวิชาชีพแล้วทีมงานเราก็เดินทางลงพื้นที่ไปพบกับกลุ่มแกนนำผู้หญิงเพื่อเปิดเวทีให้พูดคุย ถามไถ่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่อประเด็นปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ประเด็นที่น่าสนใจที่แกนนำได้หยิบยกขึ้นมาแลกเปลี่ยน คือกรณีที่หญิงไทยไปมีครอบครัวกับชายต่างชาติเป็นชาวมาเลเซียโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน โดยมีคุณยายเป็นคนเลี้ยงดู แต่พออายุได้ 2 ขวบกว่า ฝ่่ายชายได้มาหลอกให้เอาลูกไปเยี่ยมย่าที่ฝั่งมาเลย์แล้วไม่คืนลูกให้ และกีดกันไม่ให้พบลูกอีกเลย นี่ก็เป็นอุทาหรณ์สำหรับหญิงไทย ได้เป็นอย่างดี