ร้องทุกข์
กับตำรวจหญิง
เชิญชวน คุณผู้หญิง ที่ประสบปัญหา หลากหลายมิติความรุนแรง ครอบครัว เพศแจ้งความร้องทุกข์ กับ พนักงานสอบสวนหญิงได้ ที่ กองบังคับการ ปรามการค้ามนุษย์ คดีเกี่ยวกับเด็กสตรีทั่วประเทศ / เยื้องโรงเรียน หอวัง ไกล้แดนเนรมิต เก่า ถนน พหลโยธิน
ร้องทุกข์
กับตำรวจหญิง
www.fowomen.org
เว็บไซด์มูลนิธิเพื่อนหญิง
ที่อยู่   386/61-62 รัชดาภิเษก 42 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02-513-1001 (อัตโนมัติ 5 สาย)
โทรสาร 02-513 -1929
สวนสุขภาพ
มูลนิธิเพื่อนหญิง
เปิดร้านแล้วค่ะ

พฤติการณ์ที่ชาวผิวสี
มักใช้หลอกลวง
ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
มูลนิธิเพื่อนหญิงเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับหญิงไทยถูกหลอกให้โอนเงินผ่านบัญชีหญิงไทยโดยแก๊งต่างชาติ((ส่วนใหญ่เป็นไนจีเรีย)ในมาเลเซียไหมค่ะ บางคนสูญเสียเงิน เป็นหนี้เป็นสิน บางคนสิ้นหวังในชีวิต เหมือนทำร้ายทางด้านจิตใจลึกๆ จนมีหญิงไทยตั้งเฟสขึ้นมาเพื่อเตือนภัย เพราะเมื่อเป็นภัยไปแล้วส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องน่าอาย ถูกตำหนิ ไม่แจ้งความ กลัวครอบครัวเสียใจ แล้วพวกมันก็ได้ใจ ที่ไม่มีใครทำอะไรมันได้แม้แต่เจ้าของบัญชีเองซึ่งเป็นหญิงไทย มันจะเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ชื่อ นามสกุล ตำรวจก็ช่วยสุดฤทธิ์ ถึงขนาดบางนายตามไปเอาเรื่องถึงมาเลเซีย คำตอบคืนต้องแจ้งความที่มาเล และต้องเดินทางไปให้บอกคำตามที่ตำรวจมาเลต้อง เห็นความยากลำบากแล้วตำรวจท่านนั้นกลับมาอย่างผิดหวัง
ตอนนี้มีหญิงไทยรวมกลุ่มตั้งเฟสเพื่อต้านมัน ใช้ชื่อว่า Thai Anti Scam (สาวไทยรู้ทันกลลวง)


จดหมายข่าว เครือข่ายแม่หญิงอีสาน โดยมูลนิธิเพื่อนหญิง แจกให้กับแกนนำและกลุ่มสตรีในเครือข่ายภาคอีสาน จำนวน 20,000 เล่ม สนับสนุนงบโดย EU
รุ่นใหม่ไฟแรง น่าชื่นชม ร.ต.ท.หญิง วิยะดา นิ่มน้อย พนักงานสอบสวน สภ.เบตง ภ.จว.ยะลา ศชต. แม้พื้นที่จะมีความรุนแรง พนักงานสอบสวนหญิงก็ทำงานได้ทุกทีเพื่อปกป้องเด็กและสตรีคะ
ปล.ปัจจุบัน คุณวิยะดา ยศเป็นผู้กองแล้วคะ
คลิกชมคลิปสัมภาษณ์ผ่านรายการ
talk to me

สถิติความรุนแรงต่อเด็ก ที่นับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
พนักงานสอบสวนหญิง มีหน้าที่โดยตรงที่จะคุ้มครองปกป้องดูแลเด็กๆ เหล่านี้
ภาวนาให้คดีมันลดลงเรื่อยๆ เราไม่ได้อยากเห็นเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง
เพราะเมื่อถูกกระทำในวัยเด็ก มีโอกาสสูงที่ผู้ถูกกระทำจะกลายเป็นผู้กระทำด้วยความรุนแรง
คุณรู้หรือไม่ ทุกๆ ชั่วโมง กำลังมีเด็กโดนทำร้ายถึง 2 คน
และเด็กกว่าร้อยละ 50 บอกว่าเคยได้รับการลงโทษด้วยความรุนแรง
ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากพ่อแม่ ครู และผู้ใกล้ชิด ทั้งโดนตี
ตีด้วยไม้ บิดหู เรียนรู้เรื่องความรุนแรงและวิธีป้องกันได้ที่
www.endviolencethailand.org

ผู้หญิง 4 ภาคเดินหน้าสนับสนุน
กฎหมายบุหรี่ฉบับใหม่
เพื่อปกป้องลูกหลาน









        เก็บตกจาก เวทีสร้างความรู้ เข้าใจ พิษภัยบุหรี่ต่อผู้หญิงที่ทางมูลนิธิเพื่อนหญิงร่วมกับมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดขึ้นก่อนจะมีการลงพื้นที่ขอรายชื่อสนับสนุนจากผู้หญิงและครอบครัวจำนวน 300,000 ชื่อ ที่หลากหลาย  บรรยากาศเต็มไปด้วยความกังวลของแม่ๆ  ส่วนพ่อๆ มีเสียงระคนกัน แต่ก็ยังเต็มไปด้วยความกังวลใจต่ออนาคตลูกหลานดังนี้
        ความรู้สึกส่วนใหญ่ของผู้หญิง 4 ภาค มองว่า หนึ่ง การสูบบุหรี่เป็นการทำให้คนติดยาเสพติด เนื่องเพราะบุหรี่สูบแล้วติดง่าย  แต่เลิกยาก ต้องบใช้เวลาเลิกโดยเฉลี่ย25 ปี/คน สอง บุหรี่เป็นยาเสพติดที่ถูกกฎหมายเป็นสินค้าที่ฆ่าลูกค้าของตนเองสามี ลูก และหลาน มองว่าไม่เสียหายเท่ สาม บุหรี่เป็นตัวตั้งต้นของการแสดงตนว่ามีอิสระ ไม่แคร์สื่อ หัดสูบบุหรี่ก่อนไปหายาเสพติดตัวอื่นๆ อาทิ เหล้า กัญชา ยาบ้า สารเสพติดอื่นๆ  เป็นต้นสี่เสียสุขภาพ  ผู้สูบรู้ทั้งรู้ถึงพิษภัยและผลกระทบแต่ดูเหมือนต้องการฆ่าตัวตายอย่างช้าๆ     ในขณะที่ไม่มีทางออกของชีวิต   พิษภัยที่เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ใจคือ มะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ไอติดเชื้อในกระแสเลือด หน้าดำ มือเล็บเหลือง กลิ่นตัวแรงเหม็นสาบ ลมหายใจเหม็นเป็นภูมิแพ้เสี่ยงแท้ง             หรือการได้บุตรที่คลอดออกมาแล้วมีปัญหาห้าปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เช่น รายได้ที่หามาจะหมดไปกับการสูบบุหรี่ ครอบครัวทะเลาะกันทำให้ขาดความอบอุ่น การสูญเสียงบประมาณ และทรัพยากร ในการดูแล รักษาทั้งส่วนครัวเรือน และการพยาบาล สาธารณสุขของชาติ  รวมถึงการบำบัดรักษา  การฟื้นฟูสุขภาพ การเยียวยาและสุดท้ายไปจบด้วยการสูญเสีย  ทั้งต้นน้ำ  กลางน้ำ  ปลายน้ำ  การรณรงค์ป้องกันเพื่อสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับทัศนคติผิดๆต่อการมองบุหรี่ในสังคมชายเป็นใหญ่เป็นเรื่องยาก  แม้บางรายสามีเป็นถึงผู้อำนวยการโรงเรียน  ทำให้ภรรยาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งด้วยการรับควันบุหรี่มือสอง      หรือบางครอบครัวภรรยาเสียชีวิตก่อน  สามีมาเสียชีวิตทีหลัง  ทิ้งภาระลูกให้แก่ญาติพี่น้องต่อไป..ทั้งหมดจึงเป็นความรุนแรงในครอบครัว  ที่ผู้หญิงในฐานะแม่และเมีย ต้องรับบทหนักเพราะเป็นผู้ดูแลสุขภาวะของทุกคนในครอบครัว  และในยุคที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมคนชรา  เมื่อขาดหัวหน้าครอบครัวหลักลง  ผู้หญิงในช่วงที่ไร้พลัง จะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งแม่และหัวหน้าครอบครัวด้วย  จะระทมขมขื่น  หน้าดำคร่ำเครียด เผชิญปัญหาโดยลำพังได้อย่างยากเย็นแสนเข็ญ และไร้ทางออกเป็นแน่แท้
        สรุปได้ว่าบุหรี่มีผลร้ายมากกว่าผลดี   "แต่ทำไมผู้ชายชอบสูบ และผู้หญิงหลายคนกำลังเลียนแบบ" ผู้หญิง ยังกล่าวต่ออีกว่า"ปัจจุบันแหล่งที่พบควันบุหรี่มากที่สุด  คือ พื้นที่รอบบ้าน ทำให้ผู้หญิง และเด็ก ต้องได้รับควันบุหรี่จนกลายเป็นนักสูบมือสอง มือสาม เด็กๆที่ถูกพ่อใช้ให้ไปซื้อบุหรี่บ่อยๆ ก็แอบสูบ เพราะอยากรู้" นอกจากนี้ผู้หญิง 4 ภาค ยังกังวลว่าผลิตภัณฑ์บุหรี่ใหม่ๆ เช่น บารากู่ บุหรี่ไฟฟ้า ไป๊ท์  ฯลฯเวลาเพื่อนยื่นให้สูบ จะแอบใส่หรือสอดใส้สารเสพติดใดบ้างก็ไม่รู้  
ผู้หญิง4ภาคจึงเห็นพร้องต้องกันว่า   ท่ามกลางสถานการณ์ที่เลวร้ายเรามีทางเลือกเพียง 2 ทางเท่านั้น คือ
1.    ยอมจำนน  ให้มันกำหนดเรา หรือ
2.    ตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะต่อสู้อย่างไม่ลดละ
    ที่สุด  เหล่านักสู้ผู้หญิงกล้า 4 ภาค  มีหรือที่จะยอมจำนนกับสิ่งเลวร้าย ?    จึงพร้อมใจร่วมรณรงค์และเรียกร้องให้เร่งออกกฎหมายควบคุมบุหรี่ และพร้อมประสานเสียงสนับสนุนเข้าชื่อ กับภาคประชาชนในส่วนต่างๆ 15 ล้านเสียงร่วมปกป้องลูกหลานจากพิษภัยบุหรี่
การจัดเวทีเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ก่อนการลงพื้นที่เพื่อขอรายชื่อผู้หญิงนั้น ทำให้เราได้เห็นมุมมอง เสียงสะท้อนด้านผลกระทบที่เกิดจากบุหรี่ ซึ่งในขณะนี้ สถานการณ์กำลังเข้มข้นในการผลักดันกฎหมายฯเพื่อให้นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี(ครม.) กฤษฎีกา และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้เร่งผลักดันให้กฎหมายนี้ออกมาเร็วไว เพื่อปกป้องเด็ก เยาวชน ผู้หญิง ครอบครัว และชุมชนไทยให้ปลอดพ้นภัยบุหรี่  "อย่าแก้ตอนสาย เพราะนั่นหมายถึง "ชีวิตและความตาย ภายใต้มวลหมอกควัน พิษร้ายอันน่ากลัว"
บัณฑิต แป้นวิเศษ รายงานจากเวทีเครือข่ายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่

poster
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2558 ที่ห้องประชุม To be number one โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 อ.หาดใหญ่ นักเรียนกลุ่มเยาวชน Dream high จัดกิจกรรมโครงการพี่สอนน้องป้องกันภัยบุหรี่ สนับสนุนให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ทั้งปลูกฝังจิตสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง และบุคคลรอบข้าง โดยมีนักเรียน คณะครูเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน
  การดำเนินโครงการพี่สอนน้องป้องกันภัยบุหรี่ ให้ความรู้บุหรี่เท่ากับยาเสพติด เพื่อรณรงค์ให้เกิดความร่วมมือในสังคมให้มีสติ เป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิต โดยละเว้นอบายมุข และรณรงค์ขยายผลให้ผู้อื่นละเว้นอบายมุขไปด้วย ตลอดจนการร่วมทำประโยชน์ต่อสังคม การจัดกิจกรรมจึงถูกสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิดที่ว่า "เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน" โดยเริ่มที่โรงเรียนก่อนแล้วค่อยสร้างเครือข่ายออกไปสู่ชุมชน รณรงค์ให้โรงเรียนปลอดบุหรี่ แจกสื่อแผ่นพับ สติกเกอร์เลิกบุหรี่เพื่อลูก ให้แก่รถรับ-ส่งนักเรียน รถสองแถว รถโดยสารประจำทาง


"ญ.ว.2" จัดกิจกรรมให้ความรู้
"โทษ-พิษ-ภัย ของบุหรี่เท่ากับยาเสพติด"
สร้างเครือข่ายสู่ชุมชน