4. สิทธิของผู้หญิงและหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในการอพยพย้ายถิ่น

สิทธิของสตรีย้ายถิ่น
กลุ่มสตรีเป็นกลุ่มที่เผชิญประสบการณ์การอพยพย้ายถิ่นหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานข้ามชาติเอง ผู้ติดตามของแรงงานข้ามชาติ การแต่งงานกับผู้ย้ายถิ่น และแม้แต่จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการอพยพย้ายถิ่น  โดยเฉพาะกลุ่มสตรีที่เป็นแรงงานข้ามชาตินั้นต้องเผชิญกับความเสี่ยงกับการเข้าไม่ถึงการคุ้มครองทางแรงงาน กฎหมาย และสังคม  ในบางภาคส่วน (รวมถึงงานบ้านและงานด้านอื่นๆที่มีสตรีเป็นประเภทแรงงานหลัก) สภาพการทำงาน และสภาพความเป็นอยู่มีส่วนทำให้ความเสี่ยงเหล่านั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้แรงงานข้ามชาติสตรีมีความเสี่ยงใน การต้องเผชิญกับความรุนแรงทางเพศและร่างกาย, การถูกคุมขังระหว่าง การย้ายถิ่น, สุขภาพทรุดโทรม, ถูกปฏิเสธ สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์, การจ่ายค่าจ้างช้า หรือการไม่ได้รับค่าจ้าง, การถูกยึดเอกสารเดินทางอย่างผิดกฎหมาย, การเลิกสัญญาอย่างผิดกฎหมาย และการเข้าไม่ถึงความยุติธรรม เป็นต้น

เมื่อกล่าวถึงสภาพปัญหาหลากหลายที่เหล่าสตรีย้ายถิ่นต้องเผชิญแล้วภาครัฐควรพิจารณาการริเริ่มการร่างและ นำไปปฏิบัติซึ่งกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศโดยมีสิทธิสตรีเป็นศูนย์กลาง

เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว เครือข่ายประชากรแรงงานข้ามชาติ มีข้อเสนอว่า

1.    ส่งเสริมศักยภาพแรงงานหญิงด้านทักษะการเจรจาต่อรอง และการจัดตั้งสหภาพแรงงานของกลุ่มสตรีแรงงานข้ามชาติ ให้ตรงกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO 87,98)
2.    ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ย้ายถิ่นได้มีโอกาสจัดตั้งการบริการทางการศึกษาตามความต้องการ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมในประเทศต้นทาง
3.    ให้มีการปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และกฎหมายในประเทศ เช่น การคุ้มครองอย่างเท่าเทียมในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยให้คุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน แรงงานในภาคเกษตร และแรงงานหญิงในภาคบริการ
4.    กฎหมายประกันสังคม ต้องคำนึงถึงการส่งเสริมแรงงานหญิงข้ามชาติ และครอบครัว ที่เข้ามาทำงานแบบถูกกฎหมายให้เข้าถึงระบบบริการด้านสุขภาพ และอนามัยเจริญพันธ์ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้คำนึงถึงคุณภาพชีวิต มากกว่าการใช้แรงงาน หรือการสร้างมิติทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
5.    การศึกษารัฐบาล ต้องคำนึง และเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กก่อนวัยเรียน ได้เข้าเรียน เลี้ยงดูในสถานที่ หรือศูนย์เลี้ยงเด็กลูกของคนงาน ที่ใกล้กับสถานที่ทำงานในพื้นที่อย่างเท่าเทียมในด้านสิทธิความเป็นมนุษย์
6.    แรงงานหญิงข้ามชาติ ควรได้รับโอกาสในการจัดการศึกษานอกระบบ และได้รับข้อมูลในด้านการจัดการระบบการดำเนินชีวิตในประเทศที่เข้าทำงาน รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวเมื่ออยู่ในประเทศที่เข้ามาทำงาน
7.    การคุ้มครองความปลอดภัย เมื่ออยู่ในประเทศที่ทำงาน จะต้องมีช่องทางพิเศษในการคุ้มครอง เมื่อถูกข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศ หรือได้รับความรุนแรงในครอบครัว หรือที่ทำงาน เช่น การได้รับสถานที่พักพิงระหว่างการต่อสู้คดี การมีบ้านพัก และการฝึกอาชีพที่สอดคล้องกับแรงงานหญิงระหว่ารอการต่อสู้คดี และรอส่งกลับ ทั้งนี้รัฐต้องมีทัศนะคติ และการแก้ไขกฎหมายป้องกันการค้ามนุษย์ ให้คุ้มครองแรงงานหญิงข้ามชาติที่ถูกกระทำเสมือนผู้ถูกกระทำจากการค้ามนุษย์เช่นเดียวกัน


หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในการอยพย้ายถิ่น (input-Save the children)
Protecting the Rights of children who are on the move and children affected by migration. 

Background(excerpt from Inter-Agency Group on Children on the Move- the UN High Level Dialogue on Migration and Development 2013):
Children make up a significant part of the large-scale and complex population movements currently taking place in many parts of the world and the number of children who are 'on the move' is growing dramatically. It is estimated that there are approximately 750 million internal migrants and 241 million international migrants globally today- a number expected to grow to 400 million by 2040. Each typically supports many family members ack home, which also helps to lift entire communities. Almost half of the migrants are female. Many of these migrants are children or young people moving either alone or with their parents, on a permanent or on a seasonal basis. It is estimated that 3.3 million international migrants worldwide are under the age of 20 (representing around 16 percent of the total migrant population) and 11 million are children between the ages of 15 and 19 years. Of these, approximately 60 percent live in the least developed and developing countries (UNICEF 2012). Child migration is also a growing phenomenon regionally. Child and adolescent migrants are a significant proportion of the total migrant population in Africa (28 percent), followed by Asia (21 per cent), Oceania (11 per cent), Europe (11 per cent), and Americas (10 per cent). (UNICEF 2012)

The opportunities and the challenges that children's movement poses cannot be ignored. Making migration part of the post-2015 framework will have a meaningful impact on the lives of migrants. A stronger focus on the rights of children involved in migration will have a meaningful impact on the lives of the millions of children who are on the move today and the many millions that are likely to migrate in years to come.

Children on the move: risks and challenge
Children on the move*: Children moving for a variety of reason, voluntarily or involuntarily, within or between countries, with or without their parents or other primary caregivers, and whose movement, while it may open up opportunities, might also place them at risk (or at an increased risk) of economic or sexual exploitation, abuse, neglect, and violence

(*defined by the Inter-Agency Group on Children on the Move which was formed in 2011 after a global Conference on Children on the Move held in Barcelona in October 2010. It includes the following agencies: ILO, IOM, UNHCR, UNICEF, Plan international, Save the Children, Terre des Hommes, the African Movement of Working Children and Youths), Environmental Development Action in the Third World, World Vision, the Oak Foundation and individual experts and academics)

The reasons, patterns, and consequences of children's movement are diverse and complex. For many children, leaving their home communities promises the chance of a better life, an escape from poverty, abuse, violence, or conflict and a better opportunity to access jobs, education and basic services. Children on the move, especially if they are traveling unaccompanied, may lack the protective ties normally available in families and communities. Once children move, particularly in the absence of protection services and support, they can become highly vulnerable to violence, abuse and various forms of exploitation either during their journey, or once they reach the new destination. They may also face discrimination and because of their migration status, face additional barrier when trying to seek assistance, protection and basic services such as education and health. Children who may have international protection needs may face difficulties in accessing asylum procedures because of the lack of specific measures such as child-friendly asylum procedures and accessible information to support them.

Highlighted Recommendations:
1.    Children must be guaranteed access to service, protection and justice regardless of migration status

1.1    State should review and reform all migration and social laws, policies, and practices which limit access to services, protection from violence, exploitation and abuse and mechanisms for legal redress in the case of rights violations, according to migrant or residence status. This must include a clear separation from immigration control in law, policy and practice and a prohibition of data sharing.
1.2    The capacity of child and social protection systems to be child-centered and to detect, refer and support situations of vulnerability beyond material poverty strengthened. These systems should also include procedures and tools to identify, protect and assist children with particular vulnerabilities, such as victims of trafficking, exploitation, violence, abuse, and trauma.

2.    The right to family life and best interests of the child must be respected and fulfilled in the context of migration and development
2.1    The principle of family unity should be applied by authorities at all times, and families should never be separated by State action or left separated by State inaction, unless this is in accordance with the principle of the best interests of the child. Elements to be taken into account include: the child's view and identify, preservation of family unit and maintaining relations, care, protection, and safety, the right to health, education, situation of vulnerability etc.
2.2    States should explore and implement alternatives to detention and deportation in order to ensure children's right to family life, e.g. granting a residence permit on the grounds of family unity and the best interests of the child.

3.    Immigration detention of children must stop
3.1    States should expeditiously and completely cease the immigration detention of children: children should never be detained and detention cannot be justified either on the basis of their parent's immigration status or their status as unaccompanied or separated children.
3.2    States should implement a presumption against any form of deprivation of liberty on the basis of immigration status and adopt legislation, policies and practices that enable children to remain with their family members and/or guardians if they are present in the transit and/or destination country and it is in their best interests, and be accommodated as a family in non-custodial, community-based contexts while their immigration status is being resolved, using the least restrictive means necessary.


5. การนิยามใหม่ต่อกลไกคุ้มครองผู้ย้ายถิ่น

เพื่อให้เกิดการนำเสนอกรอบมิติใหม่ในการให้คำนิยาม และสร้างวาระในเรื่องการคุ้มครองผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศ เครือข่ายประชากรแรงงานข้ามชาติ มีข้อเสนอว่า
1.    จะต้องมีการผลักดันให้เกิดกลไกระหว่างประเทศในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน ควบคุมติดตาม และคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ ในระดับทวิภาคี พหุภาคี ภูมิภาค และระดับนานาชาติ
o    กลไกระหว่างประเทศในการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการจัดหางานและการคุ้มครอง แรงงานทั้งในประเทศต้นทางและปลายทาง
o    เกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับการให้ความรู้ช่วงก่อนออกเดินทาง ระหว่างการถูกจ้างงาน สภาพการจ้างงาน และการแนะแนวทางหลังการถูกจ้างงาน
2.    ริเริ่มผลักดันให้เกิดการจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศและจัดตั้งหน่วยงาน/กองทุนระหว่างประเทศเพื่อเพิ่ม ความปลอดภัยของเด็กในบริบทย้ายถิ่นที่อยู่ระหว่างการย้ายถิ่น (เด็กที่เดินทางโดยไม่มีผู้ปกครอง และเด็กที่ถูกทารุณกรรม เป็นต้น) และสตรีที่ถูกทารุณกรรม โดยมาตรฐานดังกล่าวควรให้ความสำคัญกับเด็กทารกและเด็กเล็กเป็นการพิเศษ 
3.    ริเริ่มผลักดันให้เกิดมาตรฐานระหว่างประเทศในด้านการส่งเสริมสิทธิการเข้าถึงความยุติธรรมในกรณีที่ถูกเผชิญกับ เหตุการณ์ความรุนแรง โดยให้ความเชื่อมั่นว่ามาตรฐานนั้นจะสามารถคุ้มครองสิทธิของเด็กและ สตรีย้ายถิ่นให้ได้รับความเสมอภาคกับประชาชนในประเทศนั้นๆทั้งภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และการบังคับใช้จริง นอกจากนั้นมาตรฐานดังกล่าวจึงควรเพิ่มคำแนวทางเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา (counseling) บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง การให้ความช่วยเหลือและการชดเชยให้กับ สตรีและเด็กในบริบทของการย้ายถิ่นที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงด้วย
4.    ริเริ่มและควบคุมติดตามการดำเนินการเกี่ยวกับออกเอกสารพิสูจน์สัญชาติให้กับเด็กย้ายถิ่น และสิทธิในการได้พบครอบครัว ตลอดจนสนับสนุนการรับรองให้สูติบัตรเป็นเอกสาร ที่สามารถใช้เป็นหลักฐานอย่างเป็นทางการทั้งในระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาค
5.    ริเริ่มมาตรฐานและแนวทางในการให้หน่วยกิตการศึกษาและการออกใบรับรองการโอนย้ายสถานศึกษา
6.    ริเริ่มมาตรฐานระหว่างประเทศและแนวทางในการคุ้มครองผู้ย้ายถิ่นที่มีลักษณะงานแบบไม่ชัดเจน ทั้งนี้รวมถึงงานประเภทออแพร์ (Au pair), โครงการทำงานและท่องเที่ยว (work and travel) และบริการจัดหาคู่ เป็นต้น โดยควรให้ความเชื่อมั่นว่ามาตรฐานดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน กลไกการร้องเรียนและการชดเชยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.    ริเริ่มมาตรฐานเรื่องสิทธิที่จะสมรสและก่อร่างสร้างครอบครัวสำหรับแรงงานข้ามชาติโดยมีหลักปฏิบัติ อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ทั้งในกรณีระหว่างผู้ย้ายถิ่นด้วยกันเองและ ระหว่างผู้ย้ายถิ่นกับประชากรของประเทศนั้นๆ
8.    ริเริ่มมาตรฐานสำหรับแรงงานต่างชาติในอาเซียน และเปิดตลาดแรงงานเสรี
9.    อันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำของสถานการณ์การค้ามนุษย์และการถูกเอารัดเอาเปรียบของแรงงานข้ามชาติในอาเซียน อาเซียนควรเร่งการดำเนินการของคณะกรรมการอาเซียนด้านแรงงานข้ามชาติ (the ASEAN Committee on Migrant Workers: ACMW) และการนำไปปฏิบัติซึ่งกลไกดังกล่าว
10.    จัดตั้งกลไกระดับอาเซียนเพื่อรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นบริการจัดหางานและ การคุ้มครองสิทธิแรงงานทั้งในประเทศต้นทางและปลายทาง โดยกลไกดังกล่าวควรจะถูกปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในประเทศต้นทางและปลายทางมีการกำหนดบทลงโทษและมาตรการชดเชย สำหรับผู้ย้ายถิ่นที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
11.    จัดตั้งเกณฑ์มาตรฐานระดับอาเซียนและเพิ่มความร่วมมือระดับทวิภาคีสำหรับการให้ความรู้ช่วง ก่อนออกเดินทาง และการกลับคืนสู่สังคมช่วงหลังจากการถูกจ้างงาน ในประเด็นต่างๆเช่น
a.    การปรับตัวทางวัฒนธรรม (Cultural adjustment)
b.    การศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง (Education and continuity of education)
c.    ทักษะในการปฏิบัติงาน (Occupational skills)


6. สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายในประเทศและแนวทางการปฏิบัติที่ดี
เครือข่ายประชากรแรงงานข้ามชาติ มีข้อเสนอว่า
1.    แก้ไขกฎหมายเพื่ออนุญาตให้แรงงานข้ามชาติไม่ถูกจำกัดประเภทของอาชีพงาน โดยเฉพาะการถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มของงานไร้ฝีมือและแรงงานรับใช้ในบ้านเท่านั้น แก้ไขรายชื่อสาขาอาชีพที่ต้องห้ามสำหรับแรงงานข้ามชาติโดยให้มีการดำเนินการอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 (1978)
2.    ปรับปรุงให้ระบบของสำนักงานประกันสังคมครอบคลุมไปถึงสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนให้มีความสอดคล้องกับสิทธิประโยชน์ที่แรงงานข้ามชาติพึงจะได้รับ
3.    แก้ไขพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 (1994) เพื่อให้ความเชื่อมั่นกับนายจ้างที่มีลูกจ้าง เป็นแรงงานข้ามชาติว่าจะสามารถเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนได้
4.    ส่งเสริมแรงงานข้ามชาติให้มีโอกาสด้านวัฒนธรรมและการเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการต่างๆร่วมกัน ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการจัดกิจกรรมสันทนาการและวัฒนธรรมต่างๆ
5.    สนับสนุนและเพิ่มบทบาทของกลุ่มแรงงานข้ามชาติในกิจกรรมการศึกษาเพื่อเพิ่มความรู้ด้านสาธารณสุข และ/หรือการให้คำปรึกษาระหว่างพวกเขาเอง โดยส่งเสริมให้กลไกอาสาสมัครมีความยั่งยืน และกลไกดักล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในประเทศปลายทาง
6.    กรณีที่กระทรวงสาธารณสุขออกจดหมายเวียนเพื่ออนุญาตให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงการบริการ สาธารณสุขในทุกที่ การยกเว้นการจัดเก็บค่าปรับค่าธรรมเนียมตามพรบ.คนเข้าเมือง และการขยายเวลาการขออนุญาตทำงานของแรงงานข้ามชาติเป็นกรณีพิเศษในช่วงที่ประสบอุทกภัย พ.ศ.2554
7.    กรณีที่กระทรวงแรงงานได้จัดตั้งศูนย์พักพิงสำหรับแรงงานข้ามชาติที่วัดไร่ขิงหลังจากมีกรณีศูนย์พักพิงอื่น ได้ปฏิเสธที่จะรับแรงงานข้ามชาติให้เข้าพักพิงอันเนื่องมาจากเกรงว่าจะกระทำผิดในกรณีให้ที่พักอาศัยแก่แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย
8.    กรณีที่มีการจ้างงานแรงงานข้ามชาติประจำสถานบริการด้านสุขภาพในฐานะล่าม ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงพวกเขาจะไม่มีสิทธิถูกจ้างงานในตำแหน่งล่ามก็ตาม