สรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง
“แรงงานข้ามชาติเรียนรู้ เข้าใจ อนุสัญญา ILO. 87,98”
วันที่ 23 กันยายน 2556 เวลา 08.30 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้นล่าง
สานักงานกลางนักเรียนคริสเตียน(สนค.)
พญาไท กรุงเทพฯ









































































“ยินดีต้อนรับพี่น้องแรงงานข้ามชาติและอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ
รวมถึงวิทยากรจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
กระผมเห็นว่าแรงงานข้ามชาติยังมีความรู้
และความสนใจเรื่องนี้น้อยมาก การรวมกลุ่มเจรจาต่อรอง
ที่มีความหมายและประโยชน์ของแรงงานทั้งไทย และข้ามชาติ กระผมเห็นว่าการสัมมนาครั้งนี้จะนำไปสู่ความร่วมมือในการขับเคลื่อนร่วมกัน อีกทั้งจะมีการรณรงค์เพื่อยื่นหนังสือให้รัฐบาลเร่งรับรองอนุสัญญา ILO 87, 98 ในการนี้ ผมขอให้การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จงมีแต่ความรู้และพวกเราจะได้รับไปใช้ประโยชน์ต่อไป”

"หนึ่ง การรวมตัวของแรงงานไม่เข้มแข็ง
สอง แรงงานขาดอำนาจต่อรอง
สถานการณ์ ด้านการคุ้มครองสิทธิ มกราคม – มิถุนายน 2556 ครึ่งปีแรก พบว่ามีคดีทั้งหมดสูงถึง 9,124 เรื่อง คดีสูงสุดอันดับหนึ่งเป็นเรื่องนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย อันดับสุดท้ายเป็นกรณีการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง ตัวเลขที่เกิดขึ้นกาลังบอกว่าความไม่มั่นคงในสังคมไทยการขยายวงกว้างต่อความเหลื่อมล้ำทางอาชีพทางชนชั้น แม้นจะมีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์และการคุ้มครองแรงงานก็ตามแต่การละเมิดสิทธิแรงงานกลับมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ปัญหาการรวมตัวของพี่น้องแรงงานมีข้อจำกัดภายใต้กฎหมายที่ไม่ได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มอย่างแท้จริง เช่นการเลิกจ้างผู้นำแรงงาน การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การยื่นข้อเรียกร้องสวนกลับของนายจ้าง เลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
. อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO. 87 ) ว่าด้วยเสรีภาพในการรวมตัวเป็นองค์กรและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน ค.ศ.1948 มีสาระสาคัญ 3 ประการ
หนึ่ง คนทำงานและนายจ้างสามารถใช้สิทธิโดยไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากรัฐ
สอง องค์การของคนทำงาน หรือนายจ้างมีเสรีภาพในการที่จะยกร่างธรรมนูญ ข้อบังคับองค์การของตนเองคัดเลือกผู้แทนของคนงาน และการจัดการบริหารองค์กรของตน
สาม องค์การของคนทำงานหรือนายจ้างที่จัดตั้งขึ้นมีเสรีภาพในการจัดตั้งเข้าร่วมกิจกรรม หรือเข้าเป็นสมาชิกกับองค์การในประเทศและต่างประเทศใดๆได้โดยเสรี

อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO 98 ) ว่าด้วยอนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการรวมตัวเป็นองค์การและสิทธิในการเจรจาต่อรอง ค.ศ.1949 มีสาระสาคัญ3 ประการ

หนึ่ง คุ้มครองคนงานจากการกระทำใดๆอันเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
สอง องค์การที่คนทำงานหรือนายจ้างจัดตั้งขึ้นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอจากการกระทำที่ทำให้เกิดการแทรกแซงระหว่างกันตั้งแต่ในขั้นตอนของการก่อตั้ง การปฏิบัติ รวมถึงการบริหารงาน
สาม ส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากกลไกการเจรจาโดยสมัครใจทั้งนายจ้าง หรือองค์การนายจ้างกับองค์การของคนงาน

ข้อดีของการมีอนุสัญญา ILO. 87 , 98 มี 4 ประการ ที่จะช่วยแรงงานทุกคน ทุกชาติ และเทศไทย คือ
หนึ่ง ช่วยลดปัญหาด้านความขัดแย้งในเรื่องการใช้ข้อพิพาทด้านแรงงานสัมพันธ์
สอง ช่วยทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของต่างประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย อีกทั้งการลดการถูกกล่าวหาในเรื่องในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการถุกตัดสิทธิทางการค้า
สาม ช่วยให้เกิดการส่งเสริมเสรีภาพในการรวมกลุ่ม และเจรจาต่อรอง เช่น การคุ้มครองไม่ให้นายจ้างเข้ามาแทรกแซง การคุ้มครองการแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐ และการสร้างสังคมที่เป็นธรรมไม่เหลื่อมล้า
สี่ ช่วยให้เกิดการลดการละเมิดสิทธิแรงงาน"
คุณบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์
นักวิชาการแรงงานด้านแรงงานข้ามชาติ
อภิปรายให้ความรู้ เรื่อง อนุสัญญา ILO 87, 98 โดย
นำเสนอภาพรวมว่าทาไมแรงงานต้องให้รัฐรับรองอนุสัญญา ILO
คุณเมี่ยนเวร์ ผู้อานวยการโดรงเรียนเดียร์เบอร์ม่า
และรองผู้อานวยการมูลนิธิไทย-พม่ากล่าวเปิดงาน

" แรงงานข้ามชาติกับแรงงานไทยต้องประสานกันในการรณรงค์ขับเคลื่อนเพื่อให้รัฐเร่งรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานกับการถูกละเมิดสิทธิ อาจรวมถึงสิทธิด้านประกันสังคมที่แรงงานข้ามชาติ กำลังประสบปัญหาในเรื่องการเข้าถึงสิทธิ เพราะนายจ้างบางคนไม่ยอมนำเงินไปส่งสานักงานประกันสังคม ทำให้แรงงานไม่สามารถเข้ารับการรักษาเพราะใช้สิทธิไม่ได้ ในขณะเดียวกันแรงงานข้ามชาติก็ไม่สามารถทำการรวมกลุ่มได้โดยตรงยังต้องผ่านการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้เท่านั้น การมีองค์กรแรงงาน หรือสมาคมของตนเอง โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ ที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ยังไม่อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ด้วยตนเอง
ดังนั้น จึงอยากให้เห็นว่าการเรียกร้อง และทำความเข้าใจในเรื่องอนุสัญญา ILO. 87,98 เรื่องการการเจรจาต่อรอง และเสรีภาพในการรวมกลุ่มโดยขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการรับรองอนุสัญญาสาคัญอย่างยิ่ง อยากจะรณรงค์และวางแผนร่วมกัน ระหว่างแรงงานไทย และกลุ่มแรงงานข้ามชาติ รวมถึงภาคประชาชน จะมีกำหนดการเคลื่อนไหวในวันที่ 7 – 8 ตุลาคม 2556 ณ หน้าพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นจะมีการเดินไปที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือต่อรัฐบาล และกดดันให้รัฐบาลรับรองอนุสัญILO.ภายใน 2 วันที่เราชุมนุม จึงอยากใช้ช่วงเวลานี้รับฟังพี่น้องแรงงานข้ามชาติที่จะร่วมรณรงค์ "
วิทยากร คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย
รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
ร่วมอภิปราย

การเดินทางนัดหมายจะประสานไปที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ส่วนงบประมาณที่จะใช้นั้นในส่วนค่าพาหนะเดินทางผู้เข้าร่วมจะเป็นแต่ละเครือข่ายฯรับผิดชอบ เพราะเป็นเรื่องที่แรงงานทุกคนได้ประโยชน์

ส่วนอาหาร และน้้ำดื่มทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจะเป็นองค์กรรับผิดชอบ โดยในวันนั้นแรงงานเครือข่ายประสานงานหน้าเวทีที่คุณเสถียร ประธานเครือข่าย(ANM)ที่จะอยู่บนเวที ทั้งนี้การแจ้งคนเข้าร่วมอยากให้มีการแจ้งก่อนวันที่ 5 ตุลาคม 2556 ที่คุณบัณฑิต แป้นวิเศษ เพื่อประสานการเตรียมพื้นที่ และอาหารการกินให้พอเพียง
สุดท้ายคุณบัณฑิต แป้นวิเศษ ได้กล่าวขอบคุณเครือข่ายที่เข้าร่วมเรียนรู้เข้าใจเนื้อหา และร่วมคิดแผนปฏิบัติการการรณรงค์เคลื่อนไหว ขอขอบคุณคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ขอขอบคุณองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ที่สนับสนุนให้แรงงานได้มีโอกาสได้รับความรู้ และสร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของขบวนการแรงงานข้ามชาติ ได้ร่วมกับแรงงานไทย หวังว่าเราแรงงานจะได้ไปพบกันในวันที่ 7 ตุลาคม 2556 อย่างพร้อมเพรียงกัน
ขอปิดการสัมมนาฯ




เครือข่ายแรงงานข้ามชาติที่เข้าร่วมจำนวนกี่คน

. แรงงานข้ามชาติโรงเรียนเดียร์เบอร์ม่า จำนวน 50 คน
. อาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ เครือข่าย MWG จำนวน 30 คน
. เครือข่ายแรงงานข้ามชาติฝั่งอันดามัน จำนวน 10 คน
. เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ โบ๊เบ๊ มหานาค 10 คน
. เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานข้ามชาติ จำนวน 5 คน
รวมทั้งหมด = 105 คน


ผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 50 คน
1.แรงงานข้ามชาติ
2.เครือข่ายอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ
3.อาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ กลุ่มฝั่งอันดามัน
4.เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานข้ามชาติ


จัดโดย
มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิร่วมมิตรไทย – พม่า
เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM)
เครือข่ายประชากรข้ามชาติ(MWG)
สนับสนุนโดย
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO.)

บัณฑิต แป้นวิเศษ
บันทึก และสรุปการประชุม